2x+5z, 7x-3z, 3b-5, 57a-5c-4, 9x3+4y เป็นต้น
การแยกตัวประกอบ คือ การเขียนจำนวนใดๆในรูปแบบของการคูณกันของจำนวน เช่น การแยกตัวประกอบของ 36 คือ 36 = 2×2×3×3
การแยกตัวประกอบของพหุนาม คือ การเขียนพหุนามในรูปการคูณกันระหว่างพหุนามกับค่าคงที่ หรือ ระหว่างพหุนามกับพหุนามก็ได้
1.วิธีการแยกตัวประกอบมี 3 วิธีด้วยกัน
1.1.การแยกตัวประกอบวิธีดึงตัวร่วม
ตัวอย่าง จงแยกตัวประกอบของ 9x³-12
จากโจทย์เห็นได้ว่าสามารถเขียนพหุนามในรูปการคูณได้ดังนี้
(3×3×x×x×x)- (2×2×3)
เราสามารถดึง 3 ออกมานอกวงเล็บได้เนื่องจากมี 3 อยู่ในวงเล็บเหมือนกัน
ได้เป็น = 3[(3×x×x×x)-(2×2)]
= 3(3x³-4)
1.2.การแยกตัวประกอบแบบจัดหมู่แล้วดึงตัวร่วม
ตัวอย่าง จงแยกตัวประกอบของ a²+5b+5a+5ab
จากโจทย์เห็นได้ว่าหากเราเรียงพหุนามใหม่จะสามารถดึงตัวร่วมได้
a²+5a+5b+5ab
= (a²+5a) + (ab+5b)
= a (a+5) +b (a+5)
= (a+ b) (a+5)
1.3.การแยกตัวประกอบโดยการแยก 2 วงเล็บ
ตัวอย่าง จงแยกตัวประกอบของ x²5x+6
(xju)(xkv) โดยมีj,k เป็นเครื่องหมาย +,-
และมีu,v เป็นตัวประกอบของ 6 (พจน์หลัง)
กล่าวคือ u×v = 6 (พจน์หลัง)
โดย (x×v)+(x×u) = 5x (พจน์กลาง)
ได้ u= 3,2 v= 2,3 j= + k= +
2.โจทย์การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
จงแยกตัวประกอบพหุนามต่อไปนี้
1. 2x+10 2. 3x+15y+9z
3. 52m²-117m³n+91mn 4. a+ab+b²+b
5. 11x³-22yz 6. s²+2s+1
7. 141x+93xy²+376y+248y³ 8. x²-17x-168
9. 2x²-5x+12 10. 8k²-2k-3
11. x²(b-c)+b²(c+x)+c²(x+b) 12. t²-(3m+2n)+6mn
13. (x²+3x+3) (x²-4x+3) +6x² 14. (x+y) ²-8(x+y)+16
15. 2(a-b)+(b-a)² 16. a²-x²+12x-36
17. (a+b+c)² 18. (x+y)³
19. ab+2ac+3b²+6bc-5a-13b+4c-10
20. x²-y²+yz-zx-4x+2y+z+3
1. 2(x+5) 2. 3(x+5y+3z)
3. 13m (4m-9m²+7n) 4. (a+b)(b+1)
5. 11(x³-2yz) 6. (s+1) ²
7. (3x+8y)(47+31y) 8. (x-24) (x+7)
9. (2x+3)(x-4) 10.(4x-3)(2x+1)
11. (b-c)(x+b)(x+c) 12.(t-3m)(t-2m)
13. (x²-3x+3)(x²+2x+3) 14. (x+y-4)²
15. (a-b)(2+a-b) 16. (a+x-6)(a-x+6)
17. a²+b²+c²+2ab+2bc+2ca 18. x²-xy+y²
19. (b+2c-5)(a+3b+2) 20. (x+y-z-3)(x-y-1)
เฉลยละเอียดสำหรับข้อยากๆ(11,13,15,19,20)
11. x²(b-c)+b²(c+x)+c²(x+b)
= x²(b-c) +b²c+b²x-c²x-bc² (กระจายคูณในวงเล็บโดยไม่ต้องกระจายพจน์หน้าสุด)
= x²(b-c) +bc(b-c)+x(b²-c²) (จัดหมู่แล้วดึงตัวร่วม โดยจะให้ในวงเล็บเหลือเพียง b-c ไว้)
= x²(b-c)+bc(b-c)+x(b+c)(b-c) (แยกตัวประกอบ b²-c² ด้วยผลต่างกำลังสอง)
= [x²+x(b+c)+bc](b-c) (ดึงตัวร่วมโดยดึง b-c ออกมานอกวงเล็บ)
= (x+b)(x+c)(b-c) (แยก [x²+x(b+c)+bc] เป็นสองวงเล็บ)
13. (x²+3x+3) (x²-4x+3) +6x²
(ให้ A = x²+3) (เพื่อให้ดูง่ายขึ้นและไม่สับสน)
= (A+3x)(A-4x)+6x² (ให้ A = x²+3)
= A²-Ax-12x²+6x² (กระผลคูณสองวงเล็บหน้าสุด)
= A²-Ax-6x² (ทำให้อยู่ในรูปสำเร็จ)
= (A-3x)(A+2x) (แยกตัวประกอบแบบสองวงเล็บ)
= (x²-3x+3)(x²+2x+3) (อย่าลืมแทนค่า A คืนด้วย)
15. 2(a-b)+(b-a)²
= 2(a-b)+(a-b)² (เราสามารถสลับที่ค่าคงที่ในวงเล็บได้แม้มีเครื่องหมายเป็นลบเนื่องจากมีกำลังสองครอบวงเล็บอยู่นั่นเอง)
= (a-b)[2+(a-b)] (ดึงตัวร่วม a-b)
= (a-b)(2+a-b) (ทำให้เหลือวงเล็บน้อยที่สุดก่อนตอบ)
19. ab+2ac+3b²+6bc-5a-13b+4c-10
= (b+2c-5)a+(3b²+6bc-13b+4c-10) (ดึง a ออกมาก่อนแล้วเรียงพจน์ตามกำลังของ a)
= (b+2c-5)a+[3b²+(6c-13)b+4C-10)] (เรียงพจน์ในวงเล็บหลังตามกำลังของ b)
= (b+2c-5)a+(3b+2)(b+2c-5) (แยก 3b²+(6c-13)b+4C-10) เป็นสองวงเล็บ)
= (b+2c-5)(a+3b+2) (ดึงตัวร่วมคือ b+2c-5 ออกมา)
20. x²-y²+yz-zx-4x+2y+z+3
= x²-(z+4)x-(y²-yz-2y-z-3) (เรียงพจน์ตามกำลังของ x และในวงเล็บหลังเรียงพจน์ตามกำลังของ y)
= x²-(z+4)x-[y²-(z+2)y-(z+3)] (จัดพจน์ตามกำลังของ y และดึงตัวร่วม)
= x²-(z+4)x-(y-z-3)(y+1) (แยกตัวประกอบ y²-(z+2)y-(z+3))
= (x-y-z-3)(x+y+1) (แยกตัวประกอบ x²-(z+4)x-(y-z-3)(y+1))
อ้างอิง จาก หนังสือสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้น ม.2
และ kumon ชุดที่ j 31,j 41, j 51, j 61 และ j 71
http://siamclassview.edu.chula.ac.th/cuds51132/view.php?Page=1264992324412836
http://siamclassview.edu.chula.ac.th/cuds51132/view.php?Page=1264992324412836
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบเเล้วถ้าเป็น 4t(a+b)-s(a+b) เเล้วเเบบนี้ต้องทำยังไงค้ะ?คือหนูไม่เข้าใจอ้ะค้ะ
ตอบลบถามครับ –3x2 + 10x + 8 แยกตัวประกอบได้(-3x-2) (x-4)หรือ(-3x+2) (x-4)
ตอบลบ